TH  |  EN

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566 ภาพนักวิจัย : ดร. สุจารี บุรีกุล (ซ้าย) และนายอานุภาพ พานิชผล (ขวา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ (Arctic Research Cruise) ร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) และศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์(กลาง) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในนักวิจัยไทยที่เคยเดินทางรวมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน Chinese National Antarctic Research Expedition ชื่อย่อ CHINARE ในปี 2557 และเป็นกรรมการในคณะภาคีวิทยาศาสตร์ขั้วโลกแห่งประเทศไทย       เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 นักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ดร. สุจารี บุรีกุล อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ และนายอานุภาพ … Read more

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 เครดิตโดย https://king9.ohm.go.th link original : คลิก              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จพระราชดำเนินทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทย วันที่ 6 เมษายน 2559 ณ โรงแรม China World Hotel Beijing สาธารณรัฐประชาชนจีน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : คลิก

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย สถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว การสำรวจวิจัยขั้วโลกเหนือครั้งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คุณเวการ์ด โหล์เมลีด รักษาการแทนเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังมี รองศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย … Read more

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ เครดิตโดย สำนักข่าวไทย original link : คลิก เมื่อ :วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สถานที่ : อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา จัดโดย : มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวลา 15.20 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยและปฏิบัติงาน ในบริเวณทะเลชายฝั่งหมู่เกาะสวาลบาร์ดของมหาสมุทรอาร์กติก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เฝ้าทูลละอองพระบาท กราบถวายบังคมลา และรับพระราชทานธงชาติไทย กับธงประดับอักษรพระนามาภิไธย “สธ” สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชดำริให้นักวิทยาศาสตร์ไทยขยายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยขั้วโลก จากเขตแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) เข้าสู่เขตอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) … Read more