TH  |  EN

2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้”

2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้” 1. เรือโท ดร. ชนะ สินทรัพย์วโรดมอาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่      ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในโครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เดินทางถึงสถานีวิจัยที่ขั้วโลกใต้ เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 เข้าพักที่อาคาร Amundsen Scott South Pole Station ณ ขั้วโลกใต้ อาคาร Amundsen Scott South Pole Station ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station   เยี่ยมชมหอปฏิบัติการไอซ์คิวป์ (IceCube Laboratory) ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีวิจัยอมันด์เซ่น สก็อตต์ ที่ขั้วโลกใต้   … Read more

2 นักวิจัยจากจุฬาฯ ลุยอาร์กติกถึงละติจูด 90 เหตุน้ำแข็งละลาย

2 นักวิจัยจากจุฬาฯ ลุยอาร์กติกถึงละติจูด 90 เหตุน้ำแข็งละลาย       2 ทีมนักวิจัยไทยจากจุฬาฯ ร่วมสำรวจอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) กับอีก 100 ชีวิตบนเรือตัดน้ำแข็ง “ซูหลง” ของจีน 3 เดือน ตะลุยถึงณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ บ่งชี้โลกร้อนกระทบน้ำแข็งละลาย วิจัยไมโครพลาสติกวันนี้ (24 พ.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงาน 2 นักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย นายอานุภาพ พานิชผล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินทางไปอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ)     ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของมูลนิธิเทคโนโลยีสาร สนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี     โครงการดังกล่าว นักวิจัยไทยได้ร่วมกับคณะสำรวจอาร์กติกจากประเทศจีนรุ่นที่ … Read more

น้ำแข็งทะเล อันตรกิริยาระหว่างน้ำแข็งทะเล-หิงน้ำแข็ง-มหาสมุทร ความสำคัญของน้ำแข็งทะเลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ของทวีปแอนตาร์กติกา