TH  |  EN

โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น

โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น   เมื่อครั้งที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น (The European Organization for Nuclear Research (CERN)) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงความร่วมมือกัน (Expression of Interest in The Participation of Physicists from Universities and Research Institutes from Thailand in the CMS Experiment at the CERN LHC Accelerator (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และเซิร์น เอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และเซิร์น  … Read more

โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น

โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น High School Visit Programme     ในคราวเดินทางมายังประเทศไทยของ Prof. Emmanuel Tsesmelis เพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และกลุ่มการทดลอง ALICE เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2555 Prof. Emmanuel Tsesmelis ได้กราบบังคมทูลต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสนอให้จัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศไทยไปศึกษาดูงานที่เซิร์น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับประสบการณ์จากนักวิทยาศาสตร์และเครื่องมือทดลองขนาดใหญ่ระดับโลก รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง อ่านต่อ

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium      ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์นครั้งที่ 3 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรโครงการ WLCG : Worldwide LHC Computing Grid ของเซิร์น และมีพระราชดำริว่า ประเทศไทยควรจะจัดทำโครงการคำนวณลักษณะกริดด้วย เพื่อประยุกต์ใช้งานภายในประเทศและขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับ WLCG ได้ด้วย      จึงได้มีการได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงาน เพื่อร่วมดำเนินการจัดทำโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ประกอบด้วย    (1) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ|  (2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   (4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ    (5) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)   อ่านต่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา https://www.youtube.com/watch?v=xNWr2fdskTc เครดิตโดย mahhaudjlink original : https://www.youtube.com/watch?v=hTUa3I8FHhM&feature=youtu.be      วันที่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 09.15 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา ในโครงการตามพระราชดำริฯ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ทรงติดตามการดำเนินโครงการตามพระราชดำริของโรงเรียนวัดนาราบวิทยา ซึ่งดำเนินงานครบ 8 เป้าหมายหลัก ปัจจุบันมี สามเณรนักเรียน 58 รูป เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผลการทดสอบโอเน็ต คะแนนสูงกว่าสังกัด แต่ต่ำกว่าระดับประเทศ ส่วนผลการทดสอบบีเน็ตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 วิชาพุทธประวัติ ธรรมะ และวินัย สูงกว่าระดับกลุ่มและใกล้เคียงระดับประเทศ ด้านสหกรณ์ ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนจัดการเรียนรู้สหกรณ์ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2559 ประเภทโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ส่วนกิจกรรมเรียนรู้ สอนเรื่องขนมสีสวยด้วยสีธรรมชาติ และโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “เครื่องรดน้ำอัตโนมัติในโรงเพาะเห็ดนางฟ้า” ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากกิจกรรมประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวประจำปี 2559 … Read more

02 โครงงานการเชิญธงชาติขึ้นศุ่ยอดเสาตามเวลาที่เรากำหนด

02 โครงงานการเชิญธงชาติขึ้นศุ่ยอดเสาตามเวลาที่เรากำหนด https://www.youtube.com/watch?v=1YYBljx-1eo&ab_channel=ThaiprincessIT เครดิตโดย  โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา จังหวัดน่านจัดทำโดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมภายใต้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

01 โครงงานเครื่องวัดระยะทางสำหรับผู้พิการทางสายตา

01 โครงงานเครื่องวัดระยะทางสำหรับผู้พิการทางสายตา เครดิตโดย  โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดทำโดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ภายใต้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

คณะผู้แทนหน่วยงานเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์”

คณะผู้แทนหน่วยงานเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์” ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะผู้บริหารของหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประจำปี ๒๕๖๒ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะ เบรน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมทั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท และกราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงาน ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๙.๐๐ น. ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและสามเณรได้จัดทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในเวทีต่าง ๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในโควตาพิเศษ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงาน … Read more

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI     การเดินทางไปฝึกทำวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายพิทยา อภิวัฒนกุล นักศึกษา ป.ตรี โครงการ พสวท. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม. เชียงใหม่การเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting 2019 และการลงนาม MoU ดร.สาคร ริมแจ่ม ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting ณ โรงแรมดิวาน่า พลาซ่า จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับ GSI/FAIR   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีช่วยดำเนินการประสานงาน ดังนี้    1) วันที่ 16 – 17 … Read more

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR      PANDA (antiProton ANnihilations at DArmstadt) สร้างขึ้นเพื่อให้แอนติโปรตอนชนกับเป้าอยู่กับที่ (ได้แก่ โปรตอนในเบื้องต้นและธาตุอื่นในอนาคต) ทำให้เกิดจากการชนนี้ สถานีแพนดาจากหน่วยตรวจวัด ช่วยจำแนกชนิดและพลังงานของอนุภาคที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับแรงอ่อน แรงเข้ม สถานะแปลกใหม่ (exotic states) ของสสารและโครงสร้างฮาดร็อน ความร่วมมือแพนดาประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ 500 คน จาก 20 ประเทศที่จะรวมกันดำเนินการวิจัยข้างต้น การผลิตลำแอนติโปรตอนนั้นเริ่มจากการผลิตโปรตอนด้วยเครื่องเร่งโปรตอนเชิงเส้น p-LINAC จนได้พลังงานประมาณ 70 MeV แล้วจึงส่งไปเร่งเพิ่มขึ้นโดยเครื่องซินโครตรอน SIS18 และ SIS100 จากนั้นโปรตอนจะถูกส่งชนเป้า (ซึ่งประกอบด้วยธาตุนิเกิลและทองแดง) เพื่อผลิตแอนติโปรตอน ซึ่งแอนติโปรตอนที่เกิดขึ้นจะมีโมเมนตัมสูงสุดถึง 15 GeV/c ถูกส่งไปยังวงแหวนกักเก็บ HESR (High Energy Storage Ring)และ CR เพื่อนำไปใช้งานต่อไป ที่ด้านหนึ่งของวงแหวาน HESR … Read more

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย   ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเนื้อหาโดย ผศ. นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การรักษาด้วยรังสีนั้น ถือเป็นหนึ่งในการรักษาหลักที่สำคัญ และมีการพัฒนาเทคนิคมาอย่างต่อเนื่อง จากรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ รังสีแกมมาจากแร่โคบอลต์ จนมาถึงรังสีเอกซ์พลังงานสูงด้วยเทคนิคต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ให้รังสีปริมาณสูงที่ก้อนมะเร็ง และลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตราการหายขาดจากโรค ในขณะเดียวกันลดผลข้างเคียงจากการรักษา ผู้ป่วยจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การใช้อนุภาคโปรตอน ถือเป็นความก้าวหน้าไปอีกขั้น และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยองค์อุปนายิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชประสงค์ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยแก่ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ ให้หายจากโรคภัย มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นเนื่องในวโรกาสมหามงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ … Read more