TH  |  EN

อบรมโครงงานด้านวิทยาการคำนวณผ่านสร้างสรรค์และพัฒนาเกมด้วยภาษา Python ครั้งที่ 1

อบรมโครงงานด้านวิทยาการคำนวณผ่านสร้างสรรค์และพัฒนาเกมด้วยภาษา Python ครั้งที่ 1 ดูการอบรมย้อนหลัง วัน 24 พฤศจิกายน 2565  คลิก ดูการอบรมย้อนหลัง วัน 25 พฤศจิกายน 2565  ep1/2  ep2/2 ดูการอบรมย้อนหลัง วัน 26 พฤศจิกายน 2565  ep1/2  ep2/2

ผู้บริหารหน่วยงานเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินสนับสนุนการดำเนินงานของ มูลนิธิฯ

ผู้บริหารหน่วยงาน เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินสนับสนุนการดำเนินงานของ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี      วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำผู้บริหารหน่วยงานและบุคคลเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเงินสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สืบเนื่องจากมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงาน ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีขอบเขตการดำเนินงานใน ๒ ด้านหลัก ได้แก่ ๑) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกระดับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นักวิจัย … Read more

ครั้งที่ 1: คลีนิคโครงงาน (ผ่านระบบออนไลน์)

โครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมและกำหนดการ ครั้งที่ 1: คลีนิคโครงงาน (ผ่านระบบออนไลน์) โครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร ประจำปี 2565 โดยมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 ———————————————————– วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน 2 ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารที่นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริงเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงจนเกิดผลตามแผนงานที่กำหนด กลุ่มเป้าหมาย ž  ครูและนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ประจำปี 2565  ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร จำนวน 12 ทีม จาก 12 โรงเรียน ห้องที่ 1 อาหารหมัก  (คลิกชื่อทีมเพื่อดูการอบรมย้อนหลัง) อาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญที่จะร่วมให้คำแนะนำ : 1) ผศ.ดร.จิราภรณ์ อนันต์ชัยพัทธนา        2) ผศ.ดร.นวพร ลาภส่งผล            3) ดร.ขวัญใจ กลิ่นจงกล         4) ดร.สายฝน โพธิสุวรรณ                        5) ดร.วลีวรรณ แฉ่งประเสริฐ               6) ผศ.ดร.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์          7) อ.อภิเดช พงษ์ประจักษ์ เวลา ชื่อทีม โรงเรียน/จังหวัด อาจารย์ที่ปรึกษา 09.00 – 10.00 น. มหัศจรรย์ส้มตีนวัว ราชประชานุเคราะห์ 53 ผศ.ดร.จิราภรณ์ อนันต์ชัยพัทธนา ผศ.ดร.นวพร ลาภส่งผล 10.00 … Read more

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

 กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

กิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ หัวข้อ จุดประกายไอเดีย “การใช้เทคโนโลยีในการทำงานวิจัย GLOBE อย่างสร้างสรรค์”

กิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ หัวข้อ จุดประกายไอเดีย “การใช้เทคโนโลยีในการทำงานวิจัย GLOBE อย่างสร้างสรรค์”     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง จัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ หัวข้อ จุดประกายไอเดีย “การใช้เทคโนโลยีในการทำงานวิจัย GLOBE อย่างสร้างสรรค์” ในวันจันทร์ 13 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. เพื่อให้แนวทางการนำเทคโนโลยีไปทำงานวิจัย GLOBE อย่างสร้างสรรค์ ให้แก่โรงเรียนในโครงการ และให้โรงเรียนจัดทำ (ร่าง) โครงงานงานวิจัยโลกทั้งระบบ ในปี 2564 เพื่อส่งขอรับงบประมาณสนับสนุนต่อไป โดยมีหัวข้อบรรยาย ดังนี้ บรรยายตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. การใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้สร้างสรรค์2. เทคโนโลยีในการตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง GLOBE3. เทคโนโลยีดิจิทัล3.1 เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded … Read more

ค่ายอิคคิวซัง 2 ประจำปีการศึกษา 2565 “พิชิตปัญหาการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ไอซีที”

ค่ายอิคคิวซัง 2 ประจำปีการศึกษา 2565 “พิชิตปัญหาการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ไอซีที”     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดให้มีการอบรม “ค่ายอิคคิวซัง 2 ปีการศึกษา2565 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับทำโครงงานแก่โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคเหนือ วันเสาร์ที่ 17 – วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดน่าน, แพร่, พะเยา และลำปาง จากโรงเรียน 9 แห่ง มีสามเณรและครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 รูป/คน มีอาจารย์และนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ช่วยในการจัดค่ายและให้คำปรึกษาแก่ครูและนักเรียน ประมาณ 15 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษา Logo ควบคุม Gogo Board สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการทำโครงงานและสามารถจัดทำข้อเสนอโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนหรือชุมชนในประเด็นที่กำหนดได้    

การจัดทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร

โครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร   กิจกรรมและกำหนดการอบรม (แบบออนไลน์)การจัดทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร ประจำปี 2564ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีวันศุกร์ที่ 23 กรกฏาคม 2564 และ วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 ———————————————————–   วัตถุประสงค์      เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน      ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารที่นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริงเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงจนเกิดผลตามแผนงานที่กำหนด   กลุ่มเป้าหมาย            ครูและนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ประจำปี 2564  ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร จำนวน 11 ทีม จาก 10 โรงเรียน   ตารางกิจกรรม วันที่ กิจกรรม 7 กรกฎาคม 2564 ประกาศผลรายชื่อโครงงานที่ได้รับการสนับสนุนทุน 17 กรฏาคม 2564 ส่งข้อเสนอโครงงานทางวิทยาศาสตร์อาหารและผลการทดลองเบื้องต้น (preliminary study) พร้อมส่ง PowerPoint สำหรับนำเสนอ ที่ e-mail srs@nstda.or.th  (ส่งก่อนอบรมออนไลน์ 7 วัน) 23 กรกฎาคม 2564 Online session ครั้งที่ 1 : นำเสนอ ร่างข้อเสนอโครงงานทางวิทยาศาสตร์อาหารและผลการทดลองเบื้องต้น (preliminary study) และนำผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น มานำเสนอประกอบ  … Read more

การอบรมโครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนพิการ

โครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนพิการ วันที่ 8 – 9 สิงหาคม 2565

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ด KidBright สำหรับนักเรียนพิการ

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ด KidBright สำหรับนักเรียนพิการ สวทช.ร่วมกับ สพฐ. ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนโคดดิงสำหรับนักเรียนพิการด้วย KidBright บอร์ดสมองกลฝังตัว ผลงานวิจัยของ สวทช. โดยจัดอบรมการใช้งานให้แก่ครูและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวจาก 26 โรงเรียน รวมทั้งจัดกิจกรรมการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright ของครูและนักเรียนที่ร่วมโครงการ ซึ่งมีทั้งโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือคนพิการและโครงงานทั่วไป นับเป็นเวทีแรกในการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวของนักเรียนพิการโดยเฉพาะ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนพิการได้แสดงความรู้ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่อาจพัฒนาเป็นต้นแบบสำหรับใช้งานได้จริงต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ผลงานในการช่วยเหลือคนพิการด้วยคนพิการเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม