TH  |  EN

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

โครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 30 มิถุนายน 2560 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดงานประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 ค.ศ. 2017 ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ได้รับรางวัลโนเบลกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยเชิญผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureate) นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย ประมาณ 70 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการประชุม โดยทรงร่วมฟังการเสวนาหัวข้อ “จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์” (Ethics in Sciences) จากนั้น ได้ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ครั้งที่ 4 ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร. ณรงค์ … Read more

โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริ ฯ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

เซิร์น เป็นชื่อย่อที่มาจากอักษรตัวแรกของชื่อเต็มที่เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (CERN) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า European Council for Nuclear Research แปลเป็นไทยว่า ที่ประชุมแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ โดยในปี พ.ศ. 2492 ลูอิส เดอ บรอยล์ (Louis de Broglie) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวความคิดริเริ่มของการก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งยุโรป และในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการลงนามร่วมกันจัดตั้งอย่างเป็นทางการโดย 11 ประเทศในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศในยุโรปเพื่อการวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก เซิร์นตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่าง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส อ่านต่อ

โครงการความร่วมมือกับจูลิช (Jülich) ตามพระราชดำริฯ

        ศูนย์วิจัยจูลิช (Jülich Research Center) เป็นสมาชิกของสมาคมเฮ็ล์มโฮล์ท (Helmholtz Association) ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเป็นศูนย์วิจัยหลากสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1956 โดยมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือ (North Rhine-Westphalia) ก่อนที่จะกลายไปเป็นศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1967 มีงานวิจัย 4 สาขาได้แก่ สุขภาพ สารสนเทศ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน งบประมาณประจำปีราว 705 ล้านยูโร (ค.ศ. 2018) งบประมาณจากรัฐแบ่งออกเป็น ร้อยละ 90 จากรัฐบาลกลาง และ ร้อยละ 10 จากมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือมีบุคลากรมากกว่า 6,000 คน (ค.ศ. 2018) อ่านต่อ

นำผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ ประจำปี ๒๕๖๕ เข้าเฝ้าฯ ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการฯ

นำผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ ประจำปี ๒๕๖๕ เข้าเฝ้าฯ ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการฯ วันเสาร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ วังสระปทุม นายไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระราชานุญาตนำผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ ประจำปี ๒๕๖๕ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จำนวน ๔๔ คน เข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองพระบาท ขอรับพระราชทานพร ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยขอพระราชทานกราบบังคมทูลรายงาน ดังนี้ สืบเนื่องจากองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) สมาพันธรัฐสวิส สถาบันเดซี และสถาบันวิจัยไอออนหนัก จีเอสไอ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุน เพื่อพระราชทานให้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษา … Read more

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วังสระปทุม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์)

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วังสระปทุม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับหน่วยงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒ โครงการ ในวันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วังสระปทุม ความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก     มูลนิธิฯ ร่วมกับหน่วยงานไทย จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ … Read more

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ออนไลน์)

   นำผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ ประจำปี ๒๕๖๕ เข้าเฝ้าฯ ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการฯ วันเสาร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ วังสระปทุมนายไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระราชานุญาตนำผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ ประจำปี ๒๕๖๕ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จำนวน ๔๔ คน เข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองพระบาท ขอรับพระราชทานพร ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยขอพระราชทานกราบบังคมทูลรายงาน ดังนี้สืบเนื่องจากองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) สมาพันธรัฐสวิส สถาบันเดซี และสถาบันวิจัยไอออนหนัก จีเอสไอ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุน เพื่อพระราชทานให้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษา ครูสอนฟิสิกส์ … Read more

ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ

  ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ ตามที่มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีประกาศลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ.๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ทุน มีรายละเอียดทุนและเงื่อนไขการศึกษาตามเอกสารแนบท้ายประกาศ และรับสมัครถึงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ นั้น บัดนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ได้พิจารณาแล้ว เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ขยายเวลารับสมัครทุนดังกล่าวจนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ … Read more

ประกาศขยายรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ

  ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ   ตามที่มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีประกาศลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ.๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ทุน มีรายละเอียดทุนและเงื่อนไขการศึกษาตามเอกสารแนบท้ายประกาศ และรับสมัครถึงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ นั้น บัดนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ได้พิจารณาแล้ว เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ขยายเวลารับสมัครทุนดังกล่าวจนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ … Read more

นำผู้บริหารโครงการหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวบ์ สหรัฐอเมริกา เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มวิจัยไอซ์คิวบ์ในอนาคต

นำผู้บริหารโครงการหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวบ์ สหรัฐอเมริกา เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานความร่วมมือระหว่างประเทศไทย กับกลุ่มวิจัยไอซ์คิวบ์ในอนาคต      ห้องประชุมชั้น 1 ตึกหอสมุดส่วนพระองค์วังสระปทุม:  วันที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ นำคณะผู้บริหารโครงการหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวบ์ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วย ผู้บริหาร นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้า และแผนการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มวิจัยไอซ์คิวบ์ในอนาคต      สถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube Neutrino Observatory) หรือเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ไอซ์คิวบ์ ตั้งอยู่ที่สถานีขั้วโลกใต้อมันด์เซน-สก็อตต์ในทวีปแอนตาร์ติก (Amundsen–Scott South Pole Station) สร้างเสร็จเมื่อ ปี ค.ศ. 2010 … Read more